ข้อมูลโครงการ

ทางบริษัท อยุธยา พลังงานสะอาด จำกัด ในฐานะบริษัทเอกชนที่สนใจพัฒนาและลงทุนใน
“โครงการโรงไฟฟ้า Aceco จากการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันด้วยความร้อน (เทคโนโลยีไพโรไลซิส) ขนาดกำลังการผลิต 24,000 ลิตรต่อวันเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้า ขนาด 3.0 เมกะวัตต์”

Process Flow Diagram โครงการ

6-1-2558 16-27-15

ขั้นตอนกระบวนการผลิตจากการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันด้วยความร้อน (เทคโนโลยีไพโรไลซิส) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า

 โครงการโรงไฟฟ้า Aceco จากการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันด้วยความร้อน (เทคโนโลยีไพโรไลซิส) ขนาดกำลังการผลิต 24,000 ลิตรต่อวัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้า ขนาด 3.0 เมกะวัตต์

บริษัท อยุธยา พลังงานสะอาด จำกัด
ตำบลกะทุ่ม อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13150

ขั้นตอนที่ 1  การคัดแยกขยะพลาสติกจากบ่อฝังกลบขยะชุมชน 

โครงการโรงไฟฟ้าของบริษัท อยุธยา พลังงานสะอาด จำกัด จะทำการคัดแยกขยะพลาสติกจากบ่อฝังกลบขยะชุมชนเดิม (บ่อฝังกลบขยะชุมชนขององค์การปรกครองส่วนท้องถิ่น และบ่อฝังกลบขยะเอกชน) ที่มีปริมาณขยะชุมชนรวมทั้งหมดประมาณ 880,000 ตัน (ไม่รวมปริมาณขยะชุมชนที่เกิดขึ้น 250 ตันต่อวัน) โดยใช้ระบบค้ดแยกขยะชุมชน (MSW Separation System) และดำเนินการจัดการขยะพลาสติกที่ผ่านการคัดแยกแล้ว สับให้มีขนาดเล็กลง เพื่อนำไปอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมน้ำหนักประมาณ 70 – 100 กิโลกรัมต่อก้อน วัตถุประสงค์เพื่อลดความชื้น และสะดวกต่อการบรรทุกขนส่ง วันที่จำนวนวันผลิตประมาณ 330 วันต่อปี (8 ชั่วโมงต่อวัน) หลังจากนั้น จะทำการบรรทุกขนส่งขยะพลาสติกที่อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมดังกล่าว จากบ่อฝังกลบขยะชุมชน มายังพื้นที่ตั้งโครงการที่มีระยะห่างไม่เกิน 10 – 15 กิโลเมตร โดยจะทำการจัดเก็บขยะพลาสติกที่อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมดังกล่าว ไว้ในอาคารเก็บวัตถุดิบภายในโครงการ

ขยะพลาสติกที่ผ่านการคัดแยก จำนวน 34.3 ตันต่อวัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นน้ำมันด้วยความร้อน (เทคโนโลยีไพโรไลซิส) ขนาดกำลังการผลิต 24,000 ลิตรต่อวัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้า ขนาด 3.0 เมกะวัตต์ วันที่จำนวนวันผลิตประมาณ 330 วันต่อปี (24 ชั่วโมงต่อวัน)

ขั้นตอนที่ 2  กระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน โดยใช้ระบบเทคโนโลยีไพโรไรซิส (Pyrolysis)

นำขยะพลาสติกที่อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมดังกล่าว จำนวน 34.3 ตันต่อวัน เข้าสู่ระบบเตาให้ความร้อนแบบควบคุมอากาศ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีไพโรไรซิส (Pyrolysis) ที่ใช้อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 300 C – 350 C.เพื่อเปลี่ยนสถานะจากของแข็ง เป็นของเหลวหรือน้ำมัน (Pyrolysis Oil หรือ Synthetic Oil) และก๊าซสังเคราะห์ (Synthetic Gas) หลังจากผ่านกระบวนการควบแน่นของระบบเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว น้ำมันที่เกิดขึ้นจากระบบเทคโนโลยีดังกล่าว จำนวน 24,000 ลิตรต่อวัน มีค่าความร้อน (Heating Value) ประมาณ 11,000 kcal/kg และโครงการจะทำการปรับปรุงของคุณภาพน้ำมันสังเคราะห์ ให้สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าให้กับโครงการของบริษัทฯ ได้  ซึ่งโครงการจะจัดเก็บน้ำมันสังเคราะห์ดังกล่าวที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ไว้ในถังเก็บน้ำมัน (Tank Farm) ขนาดรวม 40,000 ลิตร

สำหรับก๊าซสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากระบบเทคโนโลยีดังกล่าว จะถูกนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ในกระบวนการให้ความร้อนภายในเตาแบบควบคุมอากาศของโครงการ

Input Material

Input

Output

Waste Plastic

1,000 Kgs

–  700 to 900 Liter of Industrial Fuel

–  50 to 100 Kg of Petroleum Gas

ระบบความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีดังกล่าวนั้น ได้ทำการติดตั้งระบบเผาไหม้ก๊าซสังเคราะห์ส่วนเกิน (Excess Synthetic Gas Flare) ในกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถนำก๊าซสังเคราะห์ทั้งหมดไปใช้ในกระบวนการให้ความร้อนภายในเตาแบบควบคุมอากาศ หรือเตาแบบควบคุมอากาศ มีปัญหาขัดข้องเกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน รวมทั้งได้มีมาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยภายในระบบฯ ของโครงการ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้

ขั้นตอนที่ 3  การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากน้ำมันสังเคราะห์ 

นำน้ำมันสังเคราะห์ดังกล่าวที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพแล้ว จากถังเก็บน้ำมัน (Tank Farm) จำนวน 24,000 ลิตรต่อวัน จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเดินเครื่องยนต์ผลิตกระแสไฟฟ้า (Generator Set) เพื่อใช้เป็นต้นกำลัง สำหรับหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ได้กระแสไฟฟ้าออกมาตามต้องการที่ 3,000 กิโลวัตต์ หรือ 3.0 เมกะวัตต์ และจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2,800 กิโลวัตต์ หรือ 2.8 เมกะวัตต์ (VSPP Scheme, Adder-ขยะ เทคโนโลยี Thermal Process, 3.50 บาท ต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง) ที่จำนวนวันผลิตประมาณ 330 วันต่อปี (24 ชั่วโมงต่อวัน)

ในกรณีที่มีเครื่องยนต์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามากกว่า 1 เครื่อง ก็จัดการรวบรวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นมาทั้งหมดเข้าด้วยกัน ควบคุมให้กระแสไฟฟ้ามีคุณสมบัติและคุณภาพ ตามข้อกำหนดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ปริมาณไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ (VSPP Scheme) แล้วจึงจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผ่านอุปกรณ์ควบคุม และมาตรวัดปริมาณไฟฟ้า เพื่อใช้คำนวณหาค่าพลังงานที่จำหน่ายออกไป